top of page

ว่าที่เรือตรี กฤษฏา อยู่บรรยงค์

อายุ 32 ปี อาชีพรับราชการทหาร/นักโอโบ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจากโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือและได้ทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่ University Of Southampton ประเทศอังกฤษ

คำถาม
1.ปัจจุบันท่านใช้ลิ้นโอโบแบบใด (แบบอเมริกัน,ยุโรป หรืออื่น ๆ) เพราะเหตุใดจึงใช้แบบนี้
คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 ใช้ลิ้นโอโบทั้ง 2 แบบ ทั้งยุโรปและอเมริกาแต่ส่วนใหญ่จะใช้แบบยุโรป ที่เลือกใช้ลิ้นทั้ง 2 แบบเพราะจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบทเพลงที่จะเล่น ลิ้นทั้ง 2 แบบมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน 
2.ในความคิดของท่านลิ้นโอโบแบบอเมริกันและลิ้นโอโบแบบยุโรปแตกต่างกันอย่างไร และสามารถทำลักษณะของเสียงหรือคุณภาพของเสียงให้เหมือนกันได้หรือไม่ อย่างไร 
คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 ถ้าในอดีตมีความแตกต่างกันอยู่มาก แต่ในปัจจุบันลักษณะของเสียงไม่ต่างกันเพราะนักโอโบต้องปรับให้เสียงของโอโบเหมาะสมกับการบรรเลงในแต่ละเพลงอยู่แล้ว คุณภาพเสียงก็สามารถทำให้เหมือนกันได้ ในลิ้นแต่ละแบบก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ลิ้นแบบยุโรปจะให้น้ำเสียงที่หนา ลิ้นอเมริกันจะให้ความรู้สึกที่โปร่งสบาย แต่อย่างไรก็ตามสามารถทำให้คุณภาพเสียงเหมือนกันได้ขึ้นอยู่กับผู้เล่นโอโบ
3.วัสดุอุปกรณ์ในการทำลิ้นโอโบมีผลต่อคุณภาพของเสียงโอโบหรือไม่ อย่างไร
คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1วัสดุมีผลต่อเสียงโอโบมาก โดยเฉพาะไม้(Cane) ไม้ที่ดีจะมีผลชัดเจนแต่ทุกกระบวนการทำลิ้นต้องดีด้วยเพราะมีผลต่อเนื่องกันทั้งหมดถ้าขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ดีก็มีผลต่อเสียงทั้งสิ้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนในทุกกระบวนการทำลิ้น สุดท้ายผมใช้อะไรก็ได้เพราะเสียงโอโบที่ออกไปมันออกมาจากในตัวผม
4.การทำลิ้นโอโบในแต่ละช่วงเวลาหรือฤดูกาลมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด
คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 การทำลิ้นในแต่ละฤดูมีผลมาก ยิ่งช่วงฤดูฝนหรือฝนตกจะไม่ค่อยทำลิ้น เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์หรืออุณภูมิ เป็นเรื่องการหดตัวของไม้ในแต่ละสภาวะอากาศ อากาศร้อนก็ทำให้ดพี้ยนสูง อากาศหนาวก็ทำให้เพี้ยนต่ำ ประเทศไทยอากาศร้อนความยาวของลิ้นที่เหมาะสมคือ 7.1 ซ.ม.,7.2 ซ.ม. และ 7.3 ซ.ม. แตที่ประเทศอังกฤษเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวความยาวที่เหมาะสมของลิ้นจึงอยู่ที่ 7.0 ซ.ม. หรือ 6.9 ซ.ม.
5. จริงหรือไม่ที่นักโอโบต้องทำลิ้นโอโบใช้งานเอง หากจริงเป็นเพราะเหตุใดนักโอโบส่วนใหญ่จึงไม่นิยมซื้อลิ้นโอโบสำเร็จรูป
คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 จริง เพราะสรีระ ความแข็งแรงของกล้าเนื้อ ลม แต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าเราทำลิ้นใช้เองก็สามารถทำให้เหมาะกับตัวเองได้ ถ้าซื้อลิ้นสำเร็จรูปเราไม่สามารถเลือกได้ เพราะผู้ทำทำจากเครื่องมือที่มีความตายตัว  อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือ ถ้าทำลิ้นเองเราสามารถลดต้นทุนในการทำได้ แล้วในประเทศไทยยังไม่มีร้านขายลิ้นโอโบโดยเฉพาะ นักโอโบจึงต้องทำใช้เอง
6.ท่านคิดว่า Profiling Machine มีผลต่อการทำลิ้นโอโบหรือไม่ อย่างไร
คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 มีผล เพราะจะทำให้การทำลิ้นในแต่ละครั้งของเรามีมาตรฐาน แต่สำหรับผมแล้วการทำลิ้นด้วยมือถึงจะไม่มีความแน่นอน อย่างไรก็ตามผมชอบการทำด้วยมือมากกว่าเพราะฝึกให้มีความอดทนและท้าทายตัวเองที่ได้เจอเรื่องใหม่ๆตลอดเวลา
7.ให้แนะนำการทำลิ้นโอโบ
คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 จริงๆแล้วจะใช้ลิ้นแบบไหนก็ได้เพราะว่าดนตรีมันออกมาจากตัวเรา โอโบหรือลิ้นโอโบเป็นแค่เครื่องขยายเสียงที่ออกจากตัวเรา ต่อให้มีลิ้นที่ดีที่สุดในโลก ถ้าฝึกซ้อมไม่เพียงพอ ดนตรีในตัวเรามีไม่มากพอ เทคนิคในการเล่นไม่พอ ลิ้นโอโบที่ดีก็ช่วยอะไรได้ไม่มาก ในส่วนของการทำลิ้นก็ทำให้ง่ายที่สุดแต่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่เน้นรูปร่างสวยของให้เป่าง่าย

Interview: Homepage_about

นายเชาวลิต เจริญชีพ

อายุ 40 ปี อาชีพข้าราชการกรมศิลปากร ตำแหน่งนักดนตรีและเป็นนักโอโบที่วง Royol Bangkok Symphony Orchestra จบการศึกษาระดับปริญญาตีจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำถาม

1.ปัจจุบันท่านใช้ลิ้นโอโบแบบใด (แบบอเมริกัน,ยุโรป หรืออื่น ๆ) เพราะเหตุใดจึงใช้แบบนี้

คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 ใช้ลิ้นแบบอเมริกา เราเริ่มเรียนโอโบจากลิ้นแบบอเมริกาเลยใช้มาตลอด แล้วรู้สึกว่าเวลาเล่นโอโบความตึงเครียด(Tension) น้อยกว่าลิ้นแบบยุโรป

2.ในความคิดของท่านลิ้นโอโบแบบอเมริกันและลิ้นโอโบแบบยุโรปแตกต่างกันอย่างไร และสามารถทำลักษณะของเสียงหรือคุณภาพของเสียงให้เหมือนกันได้หรือไม่ อย่างไร 

คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 มีความแตกต่างกันแต่ขึ้นอยู่กันผู้เล่นโอโบมากกว่า สามารถทำให้ลักษณะของเสียงหรือคุณภาพเสียงใกล้เคียงกันได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเล่นของนักโอโบแล้วต้องสร้างระบบการสั่นสะเทือนของลิ้นให้ใกล้เคียงกัน

3.วัสดุอุปกรณ์ในการทำลิ้นโอโบมีผลต่อคุณภาพของเสียงโอโบหรือไม่ อย่างไร

คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 วัสดุในการทำมีผลมากในการทำล้นโอโบ ผมจะเลือกใช้วัสดุยี่ห้อ Loree เพราะมีเสถียรภาพที่ดี(Stable)เพราะมีความใกล้เคียงกันทุกชิ้น ถ้าวัสดุที่นำมาใช้ดี ตัวแปรหรือผลข้างเคียงก็จะน้อย ลิ้นที่ทำออกมาก็จะใกล้เคียงกันมากที่สุด

4.การทำลิ้นโอโบในแต่ละช่วงเวลาหรือฤดูกาลมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด

คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 มีความแตกต่างยิ่งฤดูฝนเป็นช่วงที่ทำลิ้นลำบากเพราะมีความชื่นสูง ทำให้ Cane ไม่มีความเสถียร ส่วนฤดูอื่นๆทำง่ายกว่าฤดูฝน 

5.จริงหรือไม่ที่นักโอโบต้องทำลิ้นโอโบใช้งานเอง หากจริงเป็นเพราะเหตุใดนักโอโบส่วนใหญ่จึงไม่นิยมซื้อลิ้นโอโบสำเร็จรูป

คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 ต้องทำเอง แต่ในระยะแรกของการหัดเล่นโอโบต้องซื้อมาใช้ก่อน เมื่อเล่นจนมีความชำนาญแล้ว จึงจำเป็นจะต้องทำลิ้นใช้งานเอง เพราะจะได้รูว่าตัวเาต้องการใช้ลิ้นแบบไหน ถ้าเราทำลิ้นเองจะรู้ว่าระยะเวลาไหนที่ควรทำอะไรกับลิ้นเราบ้าง

6.ท่านคิดว่า Profiling Machine มีผลต่อการทำลิ้นโอโบหรือไม่ อย่างไร

คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 มีผล คือ ช่วยลดระยะเวลาในการทำลิ้นให้สั้นลง แต่ถ้าเราใช้ Profiling Machine ก็ต้องหารูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา

7.ให้แนะนำการทำลิ้นโอโบ

คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 จะไม่ทำลิ้นให้เสร็จภายในวันเดียว จะทำแล้วพักของทุกกระบวนการ และต้องคอยสังเกตุเพราะ Cane มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าทำลิ้นโอโบให้เสร็จภายในวันเดียวตัวแปรหรือการเปลี่ยนแปลงของ Cane ในวันต่อมาจะสูงมาก และทำให้แฟลตลงถ้าเรารีบทำลิ้นเกินไปจะทำให้เราไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง

Interview: Homepage_about
bottom of page