
Concept
จากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจจากการเดินทางไปศึกษาอบรมระยะสั้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทำให้ข้าพเจ้าได้ตระหนักถึงความงามของเสียง (bueaty of sound) ที่ข้าพได้รับรับผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตจริงโดยตรงในการศึกษาอบรมในครั้งนั้น ซึ่งนำไปสู่การแสดงซีเนียร์รีไซทอลของข้าพเจ้า โดยการส่งต่อความเข้าใจจากการเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์แฟนตาเซียของจอร์จ ฟิลลิปส์ เทเลมาน สำหรับโอโบโซโล่ (ต้นฉบับเป็นฟลูต) โดยข้าพเจ้าเลือกมาสองบทประพันธ์แล้วเรียบเรียงใหม่โดยเพิ่มเติมแนวทำนองที่สอง (Basso Continuo) ด้วยเชลโลซึ่งประกอบกับแนวทำนองต้นฉบับ ทำให้เห็นถึงโน้ตที่ซ่อนอยู่ในความอารมณ์ของข้าพเจ้า จนเกิดมิติใหม่ของการสื่อสารในบทประพันธ์ในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการท้าทายความสามารถของข้าพเจ้าในการเรียบเรียงเสียงประสาน และการแสดงด้วย
อีกทั้งการแสดงรีไซทอลในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เลือกบทประพันธ์ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการบรรเลงระดับสูงของ ปูแล็งก์ (F. Poulenc, 1899-1963) บทประพันธ์ที่แสดงถึงมีหลากหลายทางอารมณ์จำเป็นต้องให้ผู้แสดงตีความหมายให้ชัดเจนและ ยูจีน บอสซา (Eugéne Bozza, 1905 - 1991) ด้วยเทคนิคที่ต้องอาศัยความคล่องตัวในการบรรเลงราวกับบทประพันธ์แบบใช้คีตปฏิภาณ ซึ่งจะเป็นการแสดงครั้งแรกในประเทศไทย (Thailand premiere) และในบทประพันธ์ชิ้นสุดท้ายของการแสดง โมสาร์ท ควอร์เต็ท ในบันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ (KV 370) โอโบรับบทบาทเป็นผู้นำในกลุ่มเชมเบอร์พร้อมกับการสร้างสรรคฺ์เสียงไปพร้อมกันกับเพื่อนๆ ในกลุ่มเชมเบอร์ ตามแต่โอกาสและบทบาทในบทประพันธ์ โดยจะนำทุกท่านให้รู้จักความงดงามของเสียงกลุ่มเชมเบอร์ชนิดนี้
การแสดงในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้มองเห็นในภาพรวมในการด้านส่งต่อเสียงดนตรีของข้าพเจ้าผ่านเครื่องดนตรีโอโบในรูปแบบบทประพันธ์ที่ต่างยุคต่างสมัย ทำให้การให้ความหมายของแต่ละบทเพลงมีความสำคัญต่อการบรรเลงเป็นอย่างมาก จนเป็นที่มาของชื่อการแสดงครั้งนี้ว่า
" Transmission...Senior Oboe Recital By KITTIPON "
Programme
G. P. Telemann (1681- 1767): 12 Fantasias for Oboe Solo
Transcription for Oboe and cello by Kittipon Sanboonruang
Fantasia No.1 in A Major.
- Vivace
- Allegro
Fantasia No.3 in B Minor
- Largo
- Allegro
F. Poulenc (1899-1963): Sonata for Oboe and Piano
- Elégie
- Scherzo
- Déploration
Eugéne Bozza (1905 - 1991): Fantaisie Pastorale for Oboe and Piano
W. A. Mozart (1765-1791): Quartet in F Major for Oboe,Violin,Viola and Violoncello KV 370 (368b)
- Allegro
- Adagio
- Rondo, Allegro ma non troppo


G. P. Telemann (1681- 1767) : 12 Fantasias for Oboe Solo
(Transcription for Oboe and cello by Kittipon Sanboonruang)
G. P. Telemann
เกิดเมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1681 เป็นนักประพันธ์ Multi instrumentalist ชาวเยอรมัน นอกจากนี้เข้ายังเป็น Music director
อีกด้วยผลงานชิ้นแรกๆ ของเขาคือ Arias,Motets แลก Instrumental works นอกจากนั้นยังแต่งอุปรากรเรื่อง Sigismundus เป็นเรื่องแรงที่แต่งขึ้นตอนอายุ 12 ปี เทเลมันน์เป็นนักประพันธ์เพลงที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรี นอกจากผลงานข้างต้นแล้วยังมีผลงานอื่นๆ เช่น คันตาตา (Cantata) สำหรับโบสถ์กว่า 1,700 บท แพชัน(Passion) 27 บท มิสซา (Masses) 17 บท โอราโตริโอ (Oratorios) 6 บท โมเท็ต (Motets) 16 บท อุปรากร 9 บท บทบรรเลงโหมโรงกว่า 120 บท เป็นต้น เทเลมันน์ยังเป็นผู้นำทางด้านดนตรีในเรื่องของ Music tendencies และเป็นคนแรกที่ริเริ่ม Public Music
12 Fantasias ประพันธ์โดย G. P. Telemann
บทเพลงชุด “12 Fantasias” สำหรับฟลูท G. P. Telemannได้เผยแพร่ประมาณปี ค.ศ.1727-1728 “12 แฟนตาเซีย” คือ บทเพลงชุดประกอบไปด้วยบทเพลง 12 บท ซึ่งในแต่ละบทจะใช้บันไดเสียงที่แตกต่างกัน และมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง นอกจากนี้ยังมีความโด่งดังในเรื่อง วงจรเซ็ต
ในการประพันธ์ (Cyclic set of composition) เหมือนกับเพลงอินเฝนเชินส์ (Inventions) ผลงานการประพันธ์ของ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ผลงานประเภทนี้เป็นบทเพลงยุคบาโรกได้รับความนิยม (Carols, et al., 1996: 3) ในแต่ละชุดของบทเพลงแฟนตาเซียประกอบด้วยความเคลื่อนไหวและแตกต่างกัน ทั้งการนำเสนอรูปแบบทำนอง ความเคลื่อนไหวของทำนอง จนถึงเรื่องของ รูปแบบ บันไดเสียง สังคีตลักษณ์ ท่อนเพลงและเทคนิคการประพันธ์ เทเลมันน์ นำเสนอรูปแบบของแต่ละชุดเพลงโดยใช้บันไดเสียงต่อไปนี้
-Fantasias บทที่ 1 ในบันไดเสียง เอ เมเจอร์ (A major)
-Fantasias บทที่ 2 ในบันไดเสียง เอ ไมเนอร์ (A minor)
-Fantasias บทที่ 3 ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์ (B minor)
-Fantasias บทที่ 4 ในบันไดเสียง บีแฟลต เมเจอร์ (B-flat major)
-Fantasias บทที่ 5 ในบันไดเสียง ซี เมเจอร์ (C major)
-Fantasias บทที่ 6 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ (D minor)
-Fantasias บทที่ 7 ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ (D major)
-Fantasias บทที่ 8 ในบันไดเสียง อี ไมเนอร์ (E minor)
-Fantasias บทที่ 9 ในบันไดเสียง อี เมเจอร์ (E major)
-Fantasias บทที่ 10 ในบันไดเสียง เอฟชาร์ป ไมเนอร์ ( F#minor)
-Fantasias บทที่ 11 ในบันไดเสียง จีเมเจอร์ (G major)
-Fantasias บทที่ 12 ในบันไดเสียงบันไดเสียง จี ไมเนอร์ (G minor)
นอกจากข้อมูลของบทเพลง ตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีประเด็นอีกประเด็นหนึ่งที่ผู้วิจัยทำการสืบค้น คือ โครงสร้างของสังคีตลักษณ์ เพื่อทำความเข้าใจถึงรูปแบบการประพันธ์ โดยแฟนตาเซียแต่ละบทนั้นมีความแตกต่างทางลักษณะตามดังที่กล่าวมา ดังนั้นการศึกษาโครงสร้างจะช่วยทำให้เข้าใจลักษณะการนำเสนอรูปแบบเพลง ช่วงทำนองได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะมีผลต่อการตีความบทเพลงในด้านการตีความวิธีการบรรเลง และด้านแนวทางการฝึกซ้อม เพื่อนำไปสู้การบรรเลงที่ดีอย่างเหมาะสม
จากบทวิเคราะห์ของ คยอง จู มิน สรุปได้ว่า รูปแบบ และโครงสร้าง ที่พบใน 12 แฟนตาเซีย บทที่ 1-3 มีดังต่อไปนี้ (นิยามศัพท์จากพจนานุกรมศัพท์ดุริยางค์ศิลป์ เขียนโดย อ.ณัชชา พันธ์เจริญ)
1) เพรลูด (Prelude) บทเพลงที่บรรเลงเป็นลำดับแรกใน
2) ฟิวก์ (Fugue) บทเพลงสอดแนว บทเพลงในรูปของดนตรีหลากแนวมักมี 3-4 แนว มีทำนองเอก 1 ทำนอง และมีการพัฒนาทำนองเอก เทคนิคที่พบมาก คือ การเลียน (Imitation) การใช้ห้วงลำดับทำนอง (Sequence) การซ้ำ (Repetition) ถือเป็นบทเพลงหลากแนวแบบโพลิโฟนีที่ซับซ้อนและเฟื้องฟูในยุคบาโรก
3) ช่วงนำ (Introduction) ช่วงเตรียมเพื่อนำเข้าสู่ตอนแรกของบทเพลง
4) ตอกคาตา (Toccata) บทเพลงสำหรับเดี่ยวไม่มีโครงสร้างทางสังคีตลักษณ์ที่แน่นอน เป็นบทเพลงที่อวดเทคนิคขั้นสูงในลีลาที่รวดเร็ว พบตั้งแต่ช่วงปลายของศตวรรษที่ 16
5) คอเรนเต (Corrente) ประเภทของเพลงเต้นรำฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 16 มักอยู่ในอัตราจังหวะสาม
6) เพลงขับลำศิลป์ (Aria) เพลงร้องมักเป็นเพลงร้องเดี่ยวที่มีดนตรีประกอบ ใช้เทคนิค
ขั้นสูง
7) บูเร (Bourrée) ประเภทของเพลงเต้นรำ ฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ในอัตราจังหวะสอง มีลีลาสนุกสนาน มักเริ่มด้วยจังหวะยก
8) จีก (Gigue) ประเภทของบทเพลงเต้นรำในลีลาที่รวดเร็ว มักอยู่ในจังหวะสองผสมหรือจังหวะสาม
9) สังคีตลักษณ์สองตอน (Binary form) รูปแบบการประพันธ์เพลงที่มีสองตอน คือ A และ B แต่ละตอนมีการเสนอความคิดที่สมบูรณ์ในตัว มักมีเครื่องหมายซ้ำให้เล่นสองเที่ยวในแต่ละตอน
ในการแสดงเดี่ยวครั้งนี้ได้หยิบมานำเสนอเพียง 2 บทเพลงคือ บทที่ 1 และ บทที่ 3
-Fantasias No.1 in A Major.
Vivace
Allegro
ประกอบด้วย 2 ท่อน (Movements) คือ
Vivace (วิวาเช) ในรูปแบบของเพรลูด (Prelude) อยู่ในอัตราจังหวะ 4/4 มีการนำเสนอทำนองที่รวดเร็วในลักษณะของตอกคาตา (Tocata) และนำเสนอในลักษณะของฟิวก์ (Fugue)
Allegro (อัลเลโกร) นำเสนอในลักษณะของเพลงเต้นรำคอเรนเต (Corrente) ในรูปแบบของสังคีตลักษณ์สองตอนแบบธรรมดา (Binary form)
-Fantasias No. 3 in B Minor.
Largo
Allegro
ประกอบด้วย 2 ท่อน (Movements) คือ
Largo (ลาร์โก) เป็นการนำเสนอในลักษณะของพรลูด ดำเนินทำนองเหมือนเพลง ตอกคาตา คาร์ลอสได้กล่าวถึงแฟนตาเซียท่อนนี้ว่าเป็น อิตาเลี่ยนตอกคาตา (Italian Toccaa) ซะจะมีการดำเนอนทำนองในลักษณะ ช้า-เร็ว-ช้า-เร็ว (Carols, et al., 1996: 3)
Allegro (อัลเลโกร) นำเสนอลักษณะบทเพลงเต้นรำจีก (Gigue) ในสังคีตลักสองตอนแบบธรรมดา (AABB)

F. Poulenc (1899-1963) : Sonata for Oboe and Piano
-Elégie
-Scherzo
-Déploration
F. Poulenc ไม่ใช่นักประพันธ์ที่ประพันธ์ตามหลักการประพันธ์เหมือนกับ Stravinsky Ravel หรือ Debussy ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับการฝึกฝนทักษะด้านดนตรีในระบบที่เป็นแบบแผน (Conservative) แต่เขาก็สามารถทำให้ตนเองเป็นที่ยอมรับในกลุ่มนักประพันธ์ในรุ่นเดียวกันได้ ในวัยเยาว์เขามีข้อได้เปรียบในการรับอิทธิพลจากพ่อและแม่ พ่อของปูแล็งก์(Poulenc) เป็นคาทอลิกในฝรั่งเศส ทำให้ผลงานการประพันธ์ของเขาติดหูคนฟังได้อย่างดี เพราะมีกลิ่นอายของความเป็น Parisian อยู่อย่างมาก
นักวิจารณ์ให้สมญานามถึง Poulenc ว่า 'Moitie Moine, Moitie Voyou' (ครึ่งพระ ครึ่งซาตาน) และตัวของเขาเองก็ยอมรับว่าเป็นคนที่มีสองบุคลิก ดนตรีของปูแล็งก์(Poulenc)นั้น เต็มไปด้วยเสน่ห์ สง่างาม แต่ก็แฝงไปด้วยความซึมเศร้า ตัวตนของเขาเป็นคนรักอิสระ งานอดิเรกของเขาคือการได้ไป Salon (Bar หรือ club ในสมัยนี้) และชอบแต่งเพลงไปเรื่อยเปื่อย จากกิจกรรมเหล่านั้นทำให้ผลงานประพันธ์ของปูแล็งก์(Poulenc)นั้น มีเอกลักษณ์ของตัวเองเป็นอย่างมาก
Oboe Sonata ผลงานชิ้นสุดท้ายของ Poulenc ถูกประพันธ์ขึ้นในปี 1962 ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เขาได้อุทิศเพลงนี้ให้กับ Sergei Prokofiev บทเพลงนี้เป็นหนึ่งในบทเพลงสำคัญของนักโอโบ (Repertoire) เป็นผลงานที่มีความซับซ้อน และยังท้าทายความสามารถของผู้บรรเลงเป็นอย่างมาก ในบทเพลง
Oboe Sonata นี้ เต็มไปด้วยเสน่ห์ความสง่างามของแนวทำนอง พร้อมกับแฝงไปด้วยความเศร้า และยังมีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ สื่อให้เห็นถึงชีวิตของปูแล็งก์(Poulenc)ที่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆที่เข้ามาในชีวิต ซึ่งเห็นได้ชัดในแต่ละท่อนของบทเพลง
Eugéne Bozza (1905 - 1991)
Fantaisie Pastorale for Oboe and Piano
ยูจีน บอสซา นักดนตรีอัฉริยะ จบการศึกษาจากสถาบันดนตรีกรุงปารีส (Paris conservatoire) ได้รับรางวัลจากการแข่งขันไวโอลิน วาทยกร และการประพันธ์ จากงานแข่งขันกรังปรี เดอร์ โรม บอสซาประสบการณ์ในการนำวงในฐานะวาทยกร ณ Opéra-Comique โดยมีผลงานที่สำคัญ อาทิ การอำนวยเพลงในรูปแบบอุปรากร บัลเลย์ ซิมโฟนี และรูปแบบการขับร้องประสานเสียง จนกระทั่งเมื่อปี 1948 บอสซ่าได้รับตำแหน่งบริหาร ณ สถาบันดนตรีแห่งวาเลยเซียน (Valenciennes conservatoire)
ผลงานการประพันธ์ที่โดดเด่นของบอสซารู้จักกันในการประพันธ์รูปแบบดนตรีเชมเบอร์หลากหลายรูปแบบ
บทเพลงชิ้นนี้มีความท้าทายผู้เล่นเป็นอย่างมาก ลักษณะการบรรเลงคล้ายกับการใช้ไหวพริบปฎิภาน (Improvisation) พร้อมกับการยืดหยุ่นของแนวทำนอง (Rubato) แนวทำนองความไพเราะ มีโครงสร้างของบทเพลงที่สมบรูณ์พร้อมกับดึงศักยภาพของโอโบมาใช้ในบทเพลงนี้ได้อย่างเต็มความสามารถ จนมีบทความหนึ่งจาก พอลกริฟฟิ (Paul Griffiths) ที่เขียนใน New Grove ถึงผลงานของบอสซ่า (Bozza) ว่า
"melodic fluency, elegance of structure and a consistently sensitive concern for instrumental capabilities"


W. A. Mozart (1765-1791) Quartet in F Major
for Oboe,Violin,Viola and Violoncello
KV 370 (368b)
- Allegro
- Adagio
- Rondo, Allegro ma non troppo
โมสาร์ทได้ประพันธ์บทเพลงนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1781 ซึ่งในบทเพลงนี้จะมีเครื่องดนตรีทั้งหมด 4 ชิ้น ได้แก่ โอโบ, ไวโอลิน, วิโอลา และเชลโล ในปี ค.ศ. 1780 โมสาร์ทได้ถูกรับเชิญไปยังเมืองมิวนิคโดยไปพบกับ อิเล็กเตอร์ คาร์ล ธีโอดอร์ ซึ่งเป็นผู้จัดการของอุปรากรเรื่อง Idmeneo สำหรับงานเฉลิมฉลองงานหนึ่ง ระหว่างที่อยู่มิวนิคนั้นเขาได้พบกับ เฟรดริค รามม์ ซึ่งเป็นนักโอโบประจำวงมิวนิคออร์เคสตรา จากนั้น โมสาทร์ทจึงแต่งโอโบควอเตทบทนี้ให้กับรามม์ เพื่อแสดงถึงศักยภาพในการเล่นโอโบของรามม์ และพัฒนาการของโอโบในยุคนั้น วิธีหนึ่งที่โชว์ความสามารถของโอโบในยุคนั้นก็คือการเล่นโน้ต ฟา (F) ที่สูงเหนือบรรทัด 5 เส้น สำหรับเพลงนี้เป็นเพลงประเภทแชมเบอร์มิวสิคแต่ก็ยังถือว่ามีความเป็นคอนแชร์โตอยู่ เพราะแนวทำนองของโอโบในบทประพันธ์นี้เป็นเสมือนกับโซโล(Solo) และมีกลุ่มเครื่องสายเล่นประกอบ
บทประพันธ์นี้ประกอบไปด้วย 3 ท่อน (Movements)
ท่อนที่ 1 Allegro มีอัตราจังหวะเร็ว ในรูปแบบของสังคีตลักษณ์โซนาตา (Sonata form)
ท่อนที่ 2 Adagio มีอัตราจังหวะช้า โอโบจะเปรียบเสมือนกับนักร้องโอเปรา
ท่อนที่ 3 Rondo, Allegro ma non troppo มีอัตราจังหวะที่เร็วแต่ไม่มาก ในรูปแบบของสังคีตลักษณ์แบบรอนโด 7 ตอน จุดเด่นของท่อนนี้ในช่วงกลางเพลงนั้นโอโบจะเล่นในอัตราจังหวะ 4/4 และกลุ่มเครื่องสายเล่นในอัตราจังหวัด 6/8 ในเวลาเดียวกัน

TRANSMISSION Senior Recital by Kittipon Sanboonruang
